Monthly Archives: April 2016

วิธีดูแลแม่และเด็กแรกเกิดที่ถูกต้อง

หลังจากผ่านนาทีแห่งความตื่นเต้น ด้วยการมีสมาชิกตัวน้อยเพิ่มมาในครอบครัวแล้ว เชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่มือใหม่หลาย ๆ คนก็มักประสบปัญหาไปกับสารพัดเรื่องในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะเรื่องของการเลี้ยงดูลูกน้อยที่เชื่อว่าคุณพ่อและคุณแม่คงจะตื่นเต้นและกังวลใจอยู่ไม่มากก็น้อยเลยทีเดียว และสำหรับคุณพ่อคุณแม่ท่านไหนที่ยังไม่รู้ว่าจะต้องเริ่มดูแลลูกน้อยอย่างไรบ้าง กระปุกดอทคอมขอนำวิธีดูแลแม่และเด็กแรกเกิดที่ถูกต้องมาฝากกัน เพื่อเป็นประโยชน์แก่คุณพ่อและคุณแม่มือใหม่ทุกคนค่ะ

อาบน้ำให้หนูน้อย ควรอาบน้ำให้ลูกน้อยวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น อาจเป็นช่วงสาย ๆ และช่วงเย็นก่อนค่ำ โดยการเตรียมอุปกรณ์อาบน้ำอย่าง สบู่ แชมพู ฟองน้ำ ผ้าเช็ดตัว และอ่างอาบน้ำที่มีแผ่นกันลื่น จากนั้นจึงมาเตรียมน้ำใส่ลงในอ่างอาบน้ำ (กำหนดอุณหภูมิพอเหมาะ ไม่เย็นและร้อนจัดมากเกินไป) แล้วจึงค่อย ๆ วักน้ำขึ้นมาลูบเบา ๆ เพื่อให้ลูกได้ปรับตัว จากนั้นจึงสระผมก่อนเป็นอันดับแรก ด้วยการประคองท้ายทอยและศีรษะของลูกเอาไว้ ใช้นิ้วโป้งและนิ้วก้อยพับใบหูลูกเอาไว้ นวดวนให้ทั่วศีรษะอย่างเบามือ จากนั้นจึงใช้ฟองน้ำช่วยล้างทำความสะอาด สำหรับการอาบน้ำให้เน้นทำความสะอาดตามจุดข้อพับ โดยเฉพาะซอกขาหนีบ รักแร้ และทวารหนักเพื่อลดการระคายเคืองและแหล่งสะสมเชื้อโรคบนผิว แต่หากแม่และเด็กมือใหม่คนไหนที่ยังไม่มั่นใจ จะใช้วิธีการอาบน้ำด้วยการให้ทารกนอนบนผ้ายาง แล้วใช้ฟองน้ำเช็ดตัวลูกก็ได้เช่นกัน

ทำความสะอาดอย่างอ่อนโยนนับเป็นสิ่งที่แม่และเด็กจะต้องใส่ใจและดูแลเป็นพิเศษ โดยเฉพาะการทำความสะอาดบริเวณสะดือและอวัยวะเพศที่มักเกิดการอับชื้นได้ง่าย ดังนั้นจึงควรเช็ดด้วยแอลกอฮอล์ 70 % ทุกครั้งหลังอาบน้ำจนกว่าสายสะดือจะหลุดและโคนสะดือแห้ง โดยห้ามใช้แป้งหรือยาผงโรยสะดือเด็กเป็นอันขาดเพราะอาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้ ส่วนอวัยวะเพศและก้นก็ไม่ควรมองข้าม เมื่อลูกถ่ายต้องรีบเช็ดทำความสะอาดทันทีโดยใช้สำลีชุบน้ำเช็ดคราบปัสสาวะและอุจจาระที่ติดอยู่ออกอย่างเบามือ โดยเช็ดจากด้านหน้าไปด้านหลังแล้วใช้ผ้าขนหนูซับให้แห้งสนิทดี จากนั้นจึงใส่ผ้าอ้อมหรือแพมเพิส เพราะผิวลูกยังอ่อนบางอยู่มาก อาจทำให้ผิวถลอกหรือแสบแดงได้ง่าย

ข้อแนะนำการใช้และการบำรุงรักษาที่สำคัญ

ตู้เย็น

ตู้เย็นเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านที่เราต้องเสียบปลั๊กไฟอยู่ตลอดเวลา ต่างจากเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดอื่นๆ ซึ่งเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดอื่นเมื่อไม่ใช้งานก็สามารถดึงปลั๊กออกได้ แต่ตู้เย็นเราต้องเสียบตลอดเวลาเพื่อรักษาความเย็นของ อาหาร หรือเครื่องดื่มภายใน ไม่ให้เน่าเสีย ตู้เย็นจึงเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟมากในระดับหนึ่งเลยทีเดียว ซึ่งเราก็ต้องมีการบำรุงรักษาให้ดี

– เลือกซื้อตู้เย็นที่มีขนาดความจุเหมาะสมกับความจำเป็นในการใช้งาน และควรตั้งอุณหภูมิให้เหมาะสมกับชนิดและจำนวนของอาหาร เพื่อประหยัดค่าไฟฟ้า
– ควรตั้งตู้เย็นให้มีอากาศถ่ายเทได้ดีพอสมควร โดยอยู่ห่างจากผนังไม่น้อยกว่า 10 เซนติเมตร และห่างจากเพดานอย่างน้อย 30 เซนติเมตร
– ไม่ควรเปิดปิดประตูบ่อยๆ เพราะความร้อนและความชื้นจากอากาศภายนอก จะทำให้ตู้เย็นทำงานมากขึ้น ซึ่งจะทำให้เปลืองไฟ
– ไม่ควรนำอาหารเข้าเก็บขณะที่ยังร้อนหรืออุ่นอยู่ ควรจะรอให้ความร้อนในอาหารลดลงจนเท่ากับระดับอุณหภูมิภายในห้องก่อนจึงนำเข้าเก็บได้
– ไม่ควรตั้งภาชนะที่เก็บอาหารไว้ชิดกัน หรือติดกับผนังตู้เพราะอากาศจะไม่สามารถผ่านรอบๆ ภาชนะได้
– หากเป็นตู้เย็นที่ไม่มีกลไกขจัดน้ำแข็งอัตโนมัติ ควรขจัดน้ำแข็งที่เกาะภายในตู้เย็นบ่อยๆ ถ้าเป็นฤดูร้อน ประมาณ 2 ครั้งต่อหนึ่งสัปดาห์
– ควรทำความสะอาดอุปกรณ์ประกอบภายในตู้เย็นอย่างสม่ำเสมอ ก่อนทำความสะอาดตู้เย็นให้ถอดปลั๊กออกก่อนทุกครั้ง ห้ามใช้เบนซิน ทินเนอร์หรือแอลกอฮอล์ ทำความสะอาดตู้เย็น
– ภายนอก ภายในตู้เย็น ควรใช้ผ้านุ่มชุบน้ำสบู่เช็ดและเช็ดด้วยผ้าชุบน้ำที่สะอาดแล้วตามด้วยผ้าแห้ง ควรทำความสะอาดตู้เย็นอย่างน้อยเดือนละครั้ง
– ยางขอบประตู ซึ่งมีความชื้น และฝุ่นละอองจับเกาะ ทำให้เกิดจุดด่างดำ ควรทำความสะอาดบ่อยๆ โดยใช้แปรงอ่อนๆ จุ่มน้ำสบู่ถูเบาๆ ล้างด้วยน้ำสะอาดและเช็ดให้แห้ง

ศัลยกรรมตกแต่งตัดนม สำหรับผู้ที่ต้องการเป็นผู้ชาย

ตัดนมการผ่าตัดศัลยกรรมตกแต่งตัดนมให้เป็นชาย โดยศัลยแพทย์ตกแต่ง ปรกติจะตัดเนื้อนมและ ผิวหนังส่วนเกินออกให้หน้าอกแบบราบ แล้วปรับตัดแต่งหัวนมและปานนม ให้มีขนาดและรูปร่างที่เหมาะสมสวยงามเหมือนธรรมชาติ โดยที่ยังคงรักษาประสาทความรู้สึก และทำใท้เกิดแผลเป็นน้อยที่สุด แต่ขณะเดียวกัน ขนาดและความหย่อนคล้อยของเต้านม จะเป็นอุปสรรคตัวกำหนดให้ศัลยแพทย์ เลือกเทคนิคที่เหมาะสม ให้กับคนไข้ ซึ่งบางเทคนิคอาจจะได้แต่เพียงรูปทรงแต่อาจจะเสียประสาทความรู้สึกไปได้

เทคนิคในการผ่าตัดนมให้เป็นชาย ขึ้นอยู่กับขนาดและความหย่อนคล้อยของเต้านม มีอยู่ 3 เทคนิค ดังนี้
1. เทคนิคแผลรูปตัว ยู
เหมาะสำหรับเต้านมขนาดเล็ก และผิวมีความยืดหยุ่นดี ศัลยแพทย์จะเปิดแผลอยู่ที่ปานนม รูปตัวยู เทคนิคแบบนี้จะได้หน้าอกแบนราบและยังคงมี ประสาทความรู้สึกเหมือนเดิม
2. เทคนิคแผลรูปตัว โอ
เหมาะสำหรับเต้านมขนาดกลาง คัฟ บี- ซี ซึ่งมีผิวหนังมีความยืดหยุ่นดี และมีผิวหนังเหลืออยู่พอสมควร โดยศัลยแพทย์จะเลือก เปิดแผลอยู่ที่รอบๆปานนม รูปตัวโอ เพื่อตัดเอาเนื้อนมออกให้หมดพร้อมกับตัดผิวหนังส่วนเกินออกด้วย เป็นวงกลมรอบๆปานนม แล้วดึงผิวหนังเข้ามารวมกันเพื่อเย็บที่ตำแหน่งรอบๆ ปานนม เทคนิคแบบนี้จะได้หน้าอกแบนราบและยังคงมี ประสาทความรู้สึก อยู่บ้างแต่ไม่ ร้อยเปอร์เปอร์เซนต์
3. เทคนิคตัดนมเป็นชาย แบบย้ายหัวนม
ในกรณีที่เต้านมใหญ่และหย่อนคล้อยมาก จะต้องตัดนมออกทั้งหมดพร้อมตัดแต่งผิวหนังส่วนที่เหลือให้พอดี กำหนดตำแหน่งหัวนม แล้ว ตัดและย้ายหัวนมมาปะเย็บที่ตำแหน่งที่กำหนด เทคนิคแบบนี้จะได้หน้าอกแบนราบและ ประสาทความรู้สึก อาจจะมีได้บ้างแต่น้อยมาก