Monthly Archives: March 2016

passbook printer เครื่องพิมพ์ที่มีความเร็วในการพิมพ์สูงสุด

passbook printerpassbook printer เป็นเครื่องพิมพ์ที่มีความเร็วในการพิมพ์สูงสุด สามารถพิมพ์งานได้หลากหลาย นอกจากการใช้งานเพื่อธุรกรรมทางธนาคาร เช่น เช็ค,ใบรับฝากเงินและใบถอนเงิน สามารถใช้งานเพื่อการพิมพ์ตั๋วโดยสาร สมุดทะเบียนต่างๆ เอกสารประจำตัว เช่นพาสปอร์ต ซองจดหมาย ฯลฯ ในองค์กรต่างๆ อาทิ บริษัทประกันภัย องค์กรเพื่อสาธารณูปโภค โรงพยาบาล บริษัทขนส่ง และอุตสาหกรรมท่องเที่ยว passbook printer เป็นเครื่องพิมพ์ที่ธนาคาร, สหกรณ์ออมทรัพย์ไว้วางใจเลือกใช้พิมพ์ได้ทั้งภาษาไทย อังกฤษ ตัวเลข ใช้ง่ายด้วยระบบปรับสมุดได้อัตโนมัติ (หัวพิมพ์ปรับระยะอัตโนมัติตามความหนาของสมุดคู่ฝาก/กระดาษ) นำเข้าและจำหน่ายเครื่องพิมพ์สมุดเงินฝาก passbook printer ซึ่งเหมาะสำหรับลูกค้าที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการเงิน หรือสถาบันการเงินต่างๆ เช่น ธนาคาร หรือสหกรณ์ เป็นต้น ซึ่งนอกจากนั้นเครื่องพิมพ์สมุดเงินฝาก passbook printer นี้ยังสามารถดำเนินการพิมพ์สิ่งอื่นๆได้ด้วย เช่น สลิปเงินเดือน สติ๊กเกอร์ พิมพ์เช็คธนาคาร ฉลากยา ซึ่งความเร็วในการพิมพ์นั้นขึ้นอยู่กับสินค้าแต่ละรุ่น หากลูกค้ามีความสนใจในผลิตภัณฑ์เครื่องพิมพ์สมุดเงินฝากสามารถติดต่อกับทางบริษัท เพื่อปรึกษาการใช้งานได้

passbook printer เชื่อถือได้ โดยคุณสามารถตรวจสอบได้

เครื่องพิมพ์สมุดเงินฝาก ไม่เพียงแต่พิมพ์เร็ว ยังให้ความเชื่อมั่นการใช้งานได้อย่างดีเยี่ยม ตัวเครื่องมีความทนทาน พิมพ์งานได้อย่างเที่ยงตรงและถูกต้อง ในทุกงานเอกสารของธุรกิจ โดยค่าเฉลี่ยของการใช้งาน (MVBF) อยู่ที่ 7 ล้านบรรทัด ค่าเฉลี่ยระยะเวลาการใช้งาน (MTBF) อยู่ที่ 10,000 ชั่วโมง (เปิดเครื่อง) และอายุหัวพิมพ์ที่ 400 ล้านครั้ง passbook printer ตัวเครื่องมีขนาดเล็ก ใช้พื้นที่เพียงเล็กน้อย, เหมาะสำหรับการใช้งานบริเวณเคาท์เตอร์หรือบริเวณที่มีเนื้อที่จำกัด ช่องเสียบกระดาษที่ออกแบบอย่างลงตัว แบบฟอร์มหรือเอกสารที่ถูกพิมพ์จะโค้งงอ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งของการออกแบบพรินเตอร์เอปสัน ให้ลดพื้นที่ด้านหลังของพรินเตอร์ได้ ใช้พื้นที่การพิมพ์งานด้วย เครื่องพิมพ์สมุดเงินฝาก อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยฐานวางเครื่องขนาดเล็กและชุดอุปกรณ์เสริมที่ไม่สิ้นเปลืองเนื้อที่ รวมถึงถาดกระดาษด้านบนสำหรับใส่แบบฟอร์ม, เอกสารและสมุดบัญชี

พีแอลซีมีบทบาทเป็นอย่างมากในการพัฒนา วิธีการผลิตที่ช่วยลดต้นทุน

พีแอลซี อุปกรณ์ควบคุมการทำงานของเครื่องจักรหรือกระบวนการทำงานต่างๆ โดยภายในมี Microprocessor เป็นมันสมองสั่งการที่สำคัญ พีแอลซี จะมีส่วนที่เป็นอินพุตและเอาต์พุตที่สามารถต่อออกไปใช้งานได้ทันที ตัวตรวจวัดหรือสวิทตช์ต่างๆ จะต่อเข้ากับอินพุต ส่วนเอาต์พุตจะใช้ต่อออกไปควบคุมการทำงานของอุปกรณ์หรือเครื่องจักรที่เป็นเป้าหมาย เราสามารถสร้างวงจรหรือแบบของการควบคุมได้โดยการป้อนเป็นโปรแกรมคำสั่งเข้าไปใน พีแอลซี นอกจากนี้ยังสามารถใช้งานร่วมกับอุปกรณ์อื่นเช่นเครื่องอ่านบาร์โค๊ด (Barcode Reader) เครื่องพิมพ์ (Printer) ซึ่งในปัจจุบันนอกจากเครื่อง พีแอลซี จะใช้งานแบบเดี่ยว (Stand alone) แล้วยังสามารถต่อ พีแอลซี หลายๆ ตัวเข้าด้วยกัน (Network) เพื่อควบคุมการทำงานของระบบให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นด้วยจะเห็นได้ว่าการใช้งาน พีแอลซี มีความยืดหยุ่นมากดังนั้นในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ จึงเปลี่ยนมาใช้ พีแอลซี มากขึ้น

พีแอลซีการใช้ พีแอลซี สำหรับควบคุมเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ต่างๆ ในโรงงานอุตสาหกรรมจะมีข้อได้เปรียบกว่าการใช้ระบบของรีเลย์ (Relay) ซึ่งจำเป็นจะต้องเดินสายไฟฟ้า หรือที่เรียกว่า Hard- Wired ฉะนั้นเมื่อมีความจำเป็นที่ต้องเปลี่ยนกระบวนการผลิต หรือลำดับการทำงานใหม่ ก็ต้องเดินสายไฟฟ้าใหม่ ซึ่งเสียเวลาและเสียค่าใช้จ่ายสูง แต่เมื่อเปลี่ยนมาใช้ พีแอลซี แล้ว การเปลี่ยนกระบวนการผลิตหรือลำดับการทำงานใหม่นั้นทำได้โดยการเปลี่ยนโปรแกรมใหม่เท่านั้น นอกจากนี้แล้ว พีแอลซี ยังใช้ระบบโซลิด – สเตท ซึ่งน่าเชื่อถือกว่าระบบเดิม การกินกระแสไฟฟ้าน้อยกว่า และสะดวกกว่าเมื่อต้องการขยายขั้นตอนการทำงานของเครื่องจักร

นาฬิกายามออกแบบมาเพื่อใช้ตรวจสอบความสม่ำเสมอการปฏิบัติงานของยาม

นาฬิกายามโดยทั่วไปหน่วยงานที่ใช้ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย หรือเรียกย่อๆว่า รปภ. เพื่อดูแลสถานที่ ของหน่วยงานถ้าใช้ รปภ.สองคน หรือสิบสองชั่วโมง ต่อคนหน่วยงานนั้น จะต้องมีค่าจ้าง รปภ.น้อยที่สุด สองแสนบาทต่อปี หากเพียงให้ รปภ.มีหน้าที่แค่ปิด เปิด ประตู แล้วนั่งเฝ้าป้อมยาม บางครั้งอาจนั่งหลับ นอกจากเสียค่าจ้าง แล้วยังทำให้เสียภาพพจน์ และประสิทธิภาพ ในการรักษาความปลอดภัยของหน่วยงาน จึงมีการแก้ไขไม่ให้ รปภ. นั่งหลับ หลายประเทศได้มี การพัฒนาระบบ การตรวจสอบการทำงาน ของ รปภ. โดยได้ทำ นาฬิกายาม ออกมา เพื่อให้มีการเดิน ไปตรวจตามสถานที่

มีหลายรูปแบบ ที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ราคาประมาณสอง ถึงสามหมื่นบาท บางรุ่นเวลาจะดูว่ามีความผิดหรือไม่ ต้องเปิดเครื่องนำกระดาษ ที่บันทึกเวลาตามที่กำหนดให้ รปภ.ไปไขกุญแจตามจุดที่กำหนด เอากระดาษนั้นมาอ่าน การบันทึกเวลาว่าถูกต้อง ตามที่กำหนดหรือไม่ บางรุ่นใช้ระบบเหรียญอิเลคโทรนิค จะต้องเอา เหรียญนั้นไปเสียบตามจุดต่างๆ เครื่องรุ่นนี้จะบันทึกละเอียดดี แต่การอ่านต้องอ่านผ่าน เครื่องคอมพิวเตอร์ และต้องซื้อหัวเพื่อ อ่านข้อมูลให้กับคอมพิวเตอร์ โปรแกรมที่ใช้ก็ต้องซื้ออีก ทำให้ราคาสูงมาก

จากปัญหาดังกล่าวเราได้ติดตามเทคโนโลยี การตรวจสอบ การทำงานของ รปภ.ก็สรุปแล้วที่ดีที่สุดขณะนี้คือ ระบบ RFID เป็นการอ่านค่าของจุดตรวจแบบไม่ต้องสัมผัส สำหรับนาฬิกายาม ที่ข้อดีคือ ไม่ต้อง ซื้อซอฟแวร์ มีมาให้ทั้งชุด ชาร์จ ชุดต่อพ่วงกับคอมพิวเตอร์ มีจุดที่จะนำไปติดตามสถานที่ต่างๆ 10 จุด ตัวอ่าน หนึ่งการชาร์จใช้ได้นานเป็นเดือน เมื่อต้องการดูข้อมูล ก็นำมาโหลดข้อมูล เข้าคอมพิวเตอร์ สั่งพิมพ์งานออกมา เป็นเอกสาร ที่ตอนนี้หลายหน่วยงาน จำเป็นต้องแสดงการตรวจ การเดินตรวจของเจ้าหน้าที่ของ รปภ. ที่เป็นรายงานเอกสาร ใช้งานง่าย ตั้งเองก็ทำได้

ประโยชน์ของการเดินตรวจสถานที่ ในหลายหน่วยงาน มีหลายจุดที่เป็นจุดเสี่ยงที่น่าจะเกิด อันตราย เช่น ตามโรงงานจะมี สถานที่เก็บทินเนอร์,น้ำมัน,แก๊ส หรือตามที่จอดรถ ตามศูนย์การค้า โรงแรม เป็นต้น ตามสถานที่ดังกล่าว หากมีการเดินตรวจ ทุกครึ่งชั่วโมง เหตุร้ายต่างๆ เช่นการลักทรัพย์ การโจรกรรม หรือเพลิงไหม้ เรื่องเหล่านี้ จะเกิดได้น้อยลง หรือหากเกิดเหตุแล้ว ตรวจพบเร็ว การแก้ไขก็จะทำได้รวดเร็ว จะลดการสูญเสียหรือไม่มี การสูญเสียเลยก็ได้ นาฬิกายาม จึงเป็นเครื่องที่ จะช่วยลดการหลับของยาม เพิ่มการเดินตรวจสถานที่ และตรวจสอบได้ง่าย